เที่ยวชมตลาดบางหลวง บ้านเก่าเหล่าเต๊งไม้ รศ. 122 จ.นครปฐม การเดินทางเที่ยวชมตลาดบางหลวงของผมในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เดินทางไป ( จำไม่ได้แล้วว่าเป็นครั้งที่เท่าไร) เพราะแต่ก่อนมาบ่อยมาก ตั้งแต่ที่ตลาดบางหลวงยังไม่เป็นที่รู้จักของใครต่อหลายคน โดยแต่ละครั้งจะมากับคนบางหลวงนี่แหละชื่อพี่บำรุง มรรควิบูลชาติ แต่ปัจจุบันพี่เขาเป็นนายกเทศมนตรีบางหลวงไปเสียแล้ว ผมเลยต้องมาโปรโมทตลาดบางหลวงให้พี่เขาหน่อยในฐานะที่พี่เค้าเป็นลูกหลานคนบางหลวงแต่กำเนิด อีกอย่างตลาดบางหลวงแห่งนี้ปัจจุบันของกินก็มีให้เลือกมากมาย และแต่ละอย่างของกินเป็นของเดิม ๆ ที่หาทานได้ยาก ชาวบ้านทำเองกับมือ ผมนัดไปพบพี่บำรุงตอน 8 โมงเช้าที่วัดบางหลวง และเริ่ม ออกเดินทางประมาณ 7 โมงเช้า โดยจากบ้านบริเวณไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยการเดินทางครั้งนี้ผมมาทางถนนสายมาลัยแมน เส้นทางหลวงหมายเลข 321 ผ่าน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ไปถึงประมาณหลัก กม. ที่ 99 จะมีป้ายบอกทางไปบ้านบางหลวง ให้กลับรถ เมื่อกลับรถแล้วจะพบแยกซ้ายไปบ้านบางหลวงอยู่ทางซ้ายมือ ให้เลี้ยวซ้ายขับเข้ามาประมาณ 15 กม. จะพบสามแยก จากนั้นให้เลี้ยวขวามขับมาประมาณ 500 เมตร ก็จะพบตลาดเก่าบางหลวง ( ไม่ต้องกลัวหลงมีป้ายทางตลอด) โดยช่วงเช้าพี่บำรุงได้พวกเราเข้าไปนมัสการ หลวงพ่อทา (หลวงพ่อโสอุดร) หลวงพ่อวัน หลวงพ่อผ่อง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดบางหลวงก่อน และได้ชมสถานที่สำคัญและน่าสนใจที่วัดบางต่อได้แก่ เชิงตะกอนโบราณ สุสานเรือโบราณ ธรรมาศน์ และโรงลิเกซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำละครเรื่องคมแฝก จากนั้นพวกเราก็เดินทางต่อไปยังตลาดบางหลวง ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันซักเท่าไรนัก เมื่อพี่บำรุงและพวกเรานำรถมาจอดไว้ยังลานจอดรถแล้ว พี่บำรุงอาสาเป็นไกด์นำเที่ยวให้พวกเรา เข้าชมตลาดบางหลวงทันที แค่ย่างเท้าเข้ามาก็พบเห็นบ้านไม้เก่าแบบเหล่าเต๊ง ตลอดสองฝั่งริมถนน แต่วันนี้ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวพลุกพล่านเพราะเป็นวันธรรมดา ( แต่ถ้าหากเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวเยอะมาก) ผมค่อย ๆ เดินเก็บภาพ และกินบรรยากาศ ตลอดเส้นทางเท้า เหมือนกับว่าได้ย้อนกับมาเป็นเด็กอีกครั้ง พวกเราเดินมาจนสุดซอยแรกก็พบกับแพที่ไว้รับประทานอาหาร ผมจึงสั่งก๊วยเตี๊ยวมารองท้องกันก่อน จากนั้นก็ตามด้วยหมูสเต๊ะ ต้องขอบอกว่ารสชาติถูกปากบรรยากาศถูกใจ เพราะได้นั่งทานบนแพที่ล่องอยู่บนแม่น้ำท่าจีน ที่สองฟากฝั่ง เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนบางหลวงที่อยู่บริมสองฟากฝั่งริมแม่น้ำท่าจีน ระหว่างทานไป ก็เหลือบไปเห็นถุงอาหารปลาที่ทางแพนำมาจำหน่าย เพื่อเลี้ยงปลาตะเพียนหางแดงที่มีอยู่เยอะมาก ระหว่างทานอาหารพี่บำรุงก็ได้แนะนำให้สถานที่น่าสนใจของตลาดบางหลวงนี้ ให้พวกเราทราบ ได้แก่โรงหนังเก่า ร้านหมอฟันโบราณที่ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ร้านถ่ายรูปโบราณที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม รวมไปถึงร้านขายยาโบราณที่ยังมีให้เห็นอยู่ที่ตลาดบางหลวงแห่งนี้ หลังจากพวกเราอิ่มจากอาหารแล้ว ก็ไปสั่งกาแฟโบราณที่ร้านกาแฟพ่อปาน ที่เคยถ่ายทำละครเรื่องคมแฝก จากนั้นพี่บำรุงจึงพาพวกเราข้ามสะพานปูน เพื่อนมัสการเจ้าแม่ลิ้มกอเนียว ( ศาลอาม่า) ก่อน แต่ระหว่างอยู่บนสะพานพวกเราได้สัมผัสกับภาพวิวของแม่น้ำท่าจีน และบ้านเก่าที่ตลาดบางหลวงได้อย่างงดงาม หลังจากได้นมัสการเจ้าแม่ลิ้มกอเนียวแล้ว พวกเราก็เดินเที่ยวตามสถานเก่าแก่ที่สำคัญ ที่ยังมีให้เห็นอยู่ที่ตลาดบางหลวงแห่งนี้ จุดแรกที่พวกเราไปก็ได้แก่วิกหนังสมัยโบราณ พวกเราได้รับการอนุเคราะห์จากเจ้ม้อยเจ้าของวิกหนังโบราณ ได้เปิดให้พวกเราเข้าชม ซึ่งด้านหน้าวิกหนังเป็นโปสเตอร์สมัยเก่า ส่วนในวิกหนังยังมีเครื่องฉายภาพสมัยโบราณ และยังมีที่นั่งแบบห้อยขาซึ่งปัจจุบันแทบหาชมไม่ได้แล้ว จากนั้นพวกเราก็เดินทางต่อไปยังร้านหมอฟันโบราณ ซึ่งตอนที่เรากำลังจะเข้าไปชมเราก็เห็นแขกเข้ามาเจียฟันพอดี ก็เลยมีโอกาสได้เครื่องเครื่องมือทำฟันสมัยโบราณซึ่งมีหน้าตาเหมือนจักรถีบ การใช้งานก็คือใช้เท้าถีบจักรเพื่อให้อุปกรณ์ทำฟันหมุน จากนั้นก็จะสามารถใช้งานได้ ตรงข้ามกับร้านทำฟันพวกเราก็เข้าไปร้านขายยาจีนโบราณ ซึ่งปัจจุบันอากงหมอจีนยังคงใช้วิธีจับแมะรักษาคนไข้ ( คือ การจับชีพจร) แล้วจึงจัดยาจีนให้กับคนไข้ จากนั้นพวกเราก็เดินไปชมร้านถ่ายรูปโบราณ ซึ่งปัจจุบันกล้องถ่ายรูปที่ใช้ยังคงมีสภาพสมบูรณ์อยู่มาก ตรงข้ามกับร้านถ่ายรูปโบราณก็ยังมีร้านขายยาแผนโบราณอีกร้านหนึ่ง ซึ่งข้าวของเครื่องใช้ และสภาพภายในร้านยังคงมีแต่ของเก่า ๆ ให้ได้เห็นอยู่อีกมาก ซึ่งดูแล้วก็อดคิดถึงไม่ได้ที่จะนึกย้อนไปเมื่อตอนเป็นเด็ก พวกเรายังคงเดินเที่ยวชมตลาดบางหลวงไปเรื่อย ๆ และก็พบเห็นกับโรงฝิ่นโบราณ จึงสอบถามพี่บำรุงว่าปัจจุบันนี้ยังคงมีสภาพเหมือนเดิมหรือไม่ พี่บำรุงบอกกับพวกเราว่า ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นบ้านเช่าแล้ว โดยด้านในไม่มีร่องรอยหลงเหลือของโรงฝิ่น มีเพียงแผ่นป้ายที่ติดอยู่หน้าประตูบ้านบอกว่าเป็นโรงฝิ่นอยู่พวกเรายังคงเดินเที่ยวชมตลาดบางหลวงไปเรื่อย ๆ และก็พบเห็นกับโรงฝิ่นโบราณ จึงสอบถามพี่บำรุงว่าปัจจุบันนี้ยังคงมีสภาพเหมือนเดิมหรือไม่ พี่บำรุงบอกกับพวกเราว่า ปัจจุบันเปลี่ยนไปเป็นบ้านเช่าแล้ว โดยด้านในไม่มีร่องรอยหลงเหลือของโรงฝิ่น มีเพียงแผ่นป้ายที่ติดอยู่หน้าประตูบ้านบอกว่าเป็นโรงฝิ่นอยู่ จากนั้นพวกเราก็เดินทางไปชมสถานที่ที่เป็นจุดสำคัญของตลาดบางหลวง ได้แก่ บ้านเก่าเล่าเรื่อง ซึ่งบ้านเก่าเล่าเรื่องนี้ ยังมีของใช้เก่า ๆ อาทิเช่น แตรโบราณ เงินโบราณ แผ่นโฆษณาโบราณ จักรยานโบราณ รถเข็นโบราณ ฯลฯ บ้านเก่าเล่าเรื่องอยู่ในการดูแลของ อาจารย์กู้ ซึ่งท่านจะเขียนกลอนต่าง ๆ อีกมากมาย มีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ให้นักท่องเที่ยวได้อ่าน ที่บ้านเก่าเล่าเรื่องตลาดบางหลวงแห่งนี้ เวลาปาเข้าไปประมาณ 3 โมงเย็นพวกเราจึงแวะซื้อขนมและของฝากต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อของตลาดบางหลวงก่อนที่จะหมด เพื่อจะนำไปทานบนเรือตอนชมนกปากห่างที่อพยพมาเป็นล้าน ๆ ตัว ในช่วงฤดูหนาวนี้ ส่วนอาหาร และขนมต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ขนมจีบโบราณ ชุนเปี๊ยะ เป็ดพะโล้ ผัดไทยกุ้งสด หมูสะเต๊ะ ขนมหวาน เป็นต้น หลังจากซื้ออาหารและขนมต่าง ๆ พี่บำรุงก็พาพวกเราขึ้นเรือนำเที่ยว โดยเสียค่าบริการคนละ 30 บาท ในการล่องเรือชมแม่น้ำท่าจีน และชมนกปากห่างที่มาวางไข่ในช่วงหน้าหนาวนี้เป็นจำนวนมาก พวกเราดื่มด่ำกับบรรยากาศยามเย็น และสัมผัสได้ถึงความเย็นสบายเหนือแม่น้ำท่าจีนได้ซักพักใหญ่ เรือนำเที่ยวก็แวะพาไปวัดหินมูล พวกเราลงจากเรือ โดยมีเจ้าหน้าที่ทางเรือพาพวกเราเดินทางเข้าไปนมัสการหลวงปู่ช้าง และหลวงปู่คล้าย ที่วัดหินมูน ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และนับถือของประชาชนในระแวกนี้ เมื่อถึงเวลาเรือนำเที่ยวก็พาพวกเราล่องเรือกลับมายังตลาดบางหลวง ในช่วงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่บรรยากาศบนแม่น้ำท่าจีนยังคงสวยงามอยู่เสมอ เวลาเกือบ 6.30 น.ท้องฟ้าก็เริ่มมืดแล้ว พวกเราจึงเดินทางกลับพร้อมของฝากอร่อย ๆ และความประทับใจในการต้อนรับของชาวตลาดบางหลวง และที่ขาดไม่ได้คือพี่บำรุงของเราที่คอยอำนวยความสะดวกตลอดทริปการเดินทาง พวกเรา คิดว่าครั้งต่อไปไม่นานยังไงก็ต้องเดินทางมาเที่ยวที่ตลาดบางหลวงแห่งนี้ใหม่อีกครั้งแน่นอน สิ้นสุดการเดินทางทริปตลาดเก่าบางหลวง ตลาดเก่าเหล่าเต๊งไม้ รศ. 122 แล้วไว้พบกันในทริปต่อไปครับ เรื่องเล่าการเดินทาง จาก Mr.annaontour
เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันได้ที่หน้าเพจของตลาดบางหลวง ร.ศ. 122 นะคะ
http://www.facebook.com/Bangluang122