แบ็คแพ็คเที่ยวพระตะบอง เมืองท่องเที่ยวระดับต้น ๆ ของกัมพูชา Battabang Travel 2
เช้านี้เรานัดเจอกันหน้าโรงแรมเย็นเย็นเกสท์เฮ้าส์ ตอน 6 โมงเช้า เพื่อไปดูตลาดในช่วงเช้าในพระตะบองที่มีอยู่ 2 แห่ง ที่แรกเป็นตลาดคนจน ชื่อตลาดบึงบัว เขาจะขายของกันตั้งแต่ตี 2 เลย (ดาบอกว่างั้น) ส่วนอีกที่ซานัด ตลาดคนรวย เขาจะขายของในช่วงสาย ๆ เอาเป็นว่าไปดูตลาดคนจนก่อนที่ตลาดบึงบัวว่ามีอะไรขายมั่งตามมาเลยครับ
ตลาดบัวก็เป็นตลาดสดทั่ว ๆ ไปมีของขายเหมือนกัน หนักไปทางพืชผลทางการเกษตร ของกิน ร้านก๋วยเตี๋ยว อาหารทะเล เขียงหมู เสื้อผ้า เพียบ แต่ผมอยากแนะนำพอดีไปเห็นโดยบังเอิญเป็นขนมโบราณของกัมพูชา ชื่อว่าขนมปวง วิธีการทำก็น่าสนใจดีไม่เหมือนบ้านเรา เอาแป้งข้าวเจ้าผสมกับแห้งข้าวเหนียวมีข้าวด้วย วิธีการก็นำมานึ่งในอุปกรณ์นึ่งที่มีช่อง ๆ กลม ๆ เหมือนกับที่ทำไอติมหมุนถัง จากนั้นรอข้าวสุกจับกันเป็นก้อนก็ดึงไม้ทีอยู่ในข้าวสุกรองด้วยใบตองเตรียมขายเลย ส่วนรสชาติก็อร่อยดี เหมือนกัชบข้าวใส่น้ำตาล เหมือนคองแคงบ้านเราเพียงแต่จากคองแคงเป็นข้าวเท่านั้น ราคาอันละประมาณ 2 บาท
เดินไปอีกหน่อยก็เห็นขนมอีกแล้ว เรียกว่าขนมซอย ดูแล้วแปลกดีไม่เหมือนบ้านเราลองไปดูนะว่ามีวิธีการทำยังไง เอาแป้งโรตรี ผสมข้าวเหนียว ใส่น้ำตาล ใส่มะพร้าวอร่อยดีแฮะ
ดาบอกว่าตลาดบึงบัวคนมาเยอะแล้ว แต่ยังไม่ใช่ตลาดหลักของพระตะบอง ตลาดที่คนรู้จัก ก็คือ ซานัด แต่จะคึกคักเอาช่วงสาย ๆ ลองไปดูกันก่อนก็ได้ว่ามีอะไรขายมั่ง และอยู่ไม่ไกลจากตลาดบึงบัวซักเท่าไร ไม่เกิน 500 เมตร ด้วยซ้ำ ผมมาถึงที่นี่ประมาณเกือบ 8 โมงเช้าแล้ว ของยังไม่ค่อยมีเลย นอกจากร้านข้าวแกง ร้านกาแฟ และของสดนิดหน่อยที่ตั้งอยู่ทางด้านข้างตลาดซานัด ก็เลยไปนั่งกินกาแฟให้หัวสมองโล่งก่อนดีกว่า
ระหว่างการกินกาแฟ คนเขมรก็ถามผมว่าผมมาจากลาวเหรอ ผมนั่งขำเลย (หน้าตาเราเหมือนลาวไปแล้วเหรอนี่) แต่ก็บอกว่าไทยครับ ไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่เชื่อจับดูดิ คุยเล่น ๆ ไปครับ คนที่คุยภาษาไทยได้ผมก็อยากคุยด้วย จะได้รู้อะไร ๆ ที่คนกัมพูชาเขาคิดกับคนไทยว่ายังไงบ้าง
ก่อนออกจากตลาดซานัด ผมเห็นดาเดินไปแลกเงินในพระตะบองด้วย ก็เลยลองไปดูว่าเขาแลกเงินอะไรบ้าง ก็แลกได้ทุกสกุลเงินแหละครับ เพราะที่นี่เป็นร้านจิวเวอร์ลี่ รวมถึงรับแลกเงินตรา ส่วนน้องสาวหน้าร้านก็น่าตาน่ารักไม่ใช่น้อย แต่เสียดายพูดไทยไม่ได้เลยอะ ผมไม่คิดนอกเรื่องดีกว่าชวนดาไปต่อเดี๋ยวมืด เพราะกะว่าเย็นนี้เดินทางกลับดีกว่าไม่ค้างหรอก แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเก็บของที่โรงแรมกันก่อนดีกว่า
ดาบอกว่าวันนี้เดินทางไกล และใช้รถเครื่องเตรียมตัวให้พร้อม ผมเอากระเป๋าที่เตรียมไปด้วยใส่หน้ารถดา แล้วดาก็พาดิ่งไปตามเส้นทางไปปราสาทบานันก่อนเลย ระหว่างไปก็ชมบรรยากาศริมทางข้างถนนเมืองพระตะบอง เห็นวิถีชีวิตการดำเนินที่ไม่ยุ่งยาก ใครเก็บอะไรได้ในสวนก็เอามาขาย ผมแวะซื้อลำใยกินซักครึ่งโลกะว่าเนื้อจะเยอะและหวาน เพราะเป็นลำใยปลอดสารพิษปรากฏว่าตรงกันข้ามที่ผมคิด เพราะเม็ดจะใหญ่เนื้อจะน้อย กินแล้วเหมือนไม่ได้กินเลย เนื้อเห็นเม็ดใสแหน๋วขำไม่หายผิดคาด
ผมเดินทางมาถึงปราสาทบานันได้ก็ให้ดาไปฝากรถ และก็เสียค่าขึ้นไปปราสาทบานันคนเขมรไม่เสีย แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเสียคนละ 3 ดอลล่า จากนั้นก็เดินขึ้นปราสาทบานัน ระหว่างทางขึ้นก็จะมีเด็กคอยพัดให้เพราะเขารู้จว่าจะเหนื่อย แต่บันใดก็จะชันมากพอสมควร มีอยู่น่าจะประมาณร้อยกว่าขั้นบันใด ระหว่างทางขึ้นไปเราก็จะได้เห็นหินที่นำมาแกะสลักลวดลายรูปร่างของสัตว์ในตำนานระหว่างทางขึ้น เมื่อขึ้นไปแล้วเราก็จะเห็นปราสาทบานันตั้งตะหง่าน แต่ต้องสะดุดตากับน้อง ๆ ที่มารอพัดและขายเครื่องดื่มบริการนักท่องเที่ยว ก็ช่วยน้อง ๆ เขมรอุดหนุนกันหน่อยครับ ราคาประมาณกระป๋องละ 1 ดอลล่า จากนั้นก็เดินชมปราสาทความอลังการ ความน่าทึ่งดูลวดลายรอบตัวปราสาท และด้านบนยังเห็นวิวสวย ๆ ของเขาสำเภา เหนื่อยแล้วครับเก็บภาพ จ่ายตังเด็ก ๆ ได้ก็เดินทางต่อกันเลย กลัวฝนจะตกอะเพราะฟ้าครึ้ม ๆ
ดาพาผมนั่งมอเตอร์ไซค์คู่กายพาผมวิ่งไปเส้นทางที่ 57(ถนนแห่งชาติอดีต 10) หากมาจากพระตะบองมุ่งหน้าไปจังหวัดไพริน ระหว่างทางจะพบกับวัดสะนัง ซึ่งที่นี่มีสถานที่เที่ยวเที่ยวที่ติดถนนคือปราสาทสะนังมีขนาดไม่ใหญ่มาก ส่วนประวัติศาสตร์ผมไม่รู้ครับแต่แปลจากภาษาอังกฤษตามกูเกิลเว็บการท่องเที่ยวกัมพูชาได้ประมาณนี้ครับ วัดสะนังสร้างจากอิฐบนเนินเขาเป็น 30 เมตร ยาวและกว้าง 20 เมตร มีสามศาลาเพียงตาแยกต่างหากและมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบวัดอื่น ๆ สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 12 หลังวิหารใหม่สะนังทางตะวันตกวัดที่สร้างขึ้นจากหินทรา ดาบอกพักรถเครื่องที่นี่ซักครู่ผมเจอใครที่พูดภาษาไทยได้ ก็พูดสารทุกข์สุขดิบไปเรื่อย
ก่อนเดินทางไปเสกสกต่อระหว่างทางก็พักเข้าห้องน้ำตามปั๊มน้ำมันห้องน้ำสะอาดดีครับ มีร้านข้าวด้วยก็เลยลองกินข้าวในปั๊มน้ำมันอาหารอร่อยดี สะอาดใช้ได้ครับ เมนูมื้อนี้ข้าวผมสั่งผัดกระเพราไข่ดาว แต่ดาสั่งให้ผมยังไงไม่ทราบ ได้ข้าวผัด ลาดด้วยผัดกระเพรา มีไข่ดาวด้วย มื้อนี้มีเบิลครับ อาหารอร่อยสุดยอด หรือเพราะว่าผมหิวมากหรือเปล่าก็ไม่รู้
จากนั้นก็เดินทางไปเสกสกต่อ ที่นี่เสียค่าเข้าชม รถมอเตอร์ไซค์ 2,000 เรียล ค่าเข้าชมต่อคน 5,000 เรียล ที่นี่เมื่อก่อนน่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเห็นจากร้านอาหาร การตกแต่งสวน รวมถึงรูปปั้นต่าง ๆ น่าจะดี แต่วันนี้ไม่มีคนเลย นอกจากเด็ก ๆ แถวนั้นมาเล่นนั้นหาปลา เสกสก หรือเสกสัก เป็นเหมือนแก่งที่มีสายน้ำไหลผ่านโขดหินบริเวณแถวนี้ และจุดนี้น่าจะเป็นจุดที่แคบที่สุดของแม่น้ำสายนี้ เลยทำให้สามารถเป็นแหล่งเล่นน้ำ หาปลา ของคนพื้นที่ รวมถึงได้ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบันของจังหวัดพระตะบอง
เราอยู่นี่กันไม่นาน เพราะน้ำจะเชี่ยวนิดหน่อย และน้ำแดง ถ้าผมใส่กางเกงขาสั้นมาก็อาจจะลงเล่นน้ำแล้ว ขากลับเรากลับเส้นเดิมมองเห็นเขาจระเข้อยู่ด้านซ้ายมือ ที่เรียกว่าเขาจระเข้เพราะเมื่อมองไปแล้วเขาลูกนี้มีรูปร่างคล้ายจระเข้นอนจริง ๆ แต่ไม่ได้แวะที่นี่ครับ เพราะเดี๋ยวจะเย็น ให้ดูเป็นข้อมูลเผื่อใครจะขึ้นไปไหว้พระทำบุญก็ได้นะครับ
ห่างจากเขาจระเข้ไม่นานขับไปตามถนนเส้นหลักจะพบทางแยกไปกอมปิงปวยขับเข้าไปประมาณ 16 กิโลเมตร ก็จะเห็นบรรยากาศดีดี วิวสวย ๆ คนมาท่องเที่ยวมากมาย ดูวิถีชีวิตชาวกัมพูชาที่กอมปิงปวย กอมปิงปวยเป็นที่กักเก็บน้ำของจังหวัดพระตะบอง เพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค รวมถึงการเกษตร แต่นอกจากนี้แล้วยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากคนพระตะบอง และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก เพราะบรรยากาศริมกอมปิงปวยนั้นดีมาก ๆ ลมเย็น มองเห็นวิวแม่น้ำสุดสายตา สลับด้วยวิวภูเขา และแหล่งรวมสายพันธุ์ของบัวต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้มีร้านค้าร้านอาหารมาตั้งบริการนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก บริเวรตรงประตูระบายน้ำก็เป็นจุดที่คนในบริเวณนั้นมาหาปลา รวมถึงเป็นสถานที่เล่นน้ำเหมือนกับคลื่น ๆ เล็ก ๆ ที่ปล่อยจากประตูน้ำ ทำให้เด็ก ๆ มาเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวยังได้สัมผัสการปลูกบัว นำฝักบัวมาขาย รวมถึงการได้เห็นคนแถวนี้นำต้นบัวมารูดหนามแล้วทำเป็นเส้นด้ายใช้ในการทอผ้าอีกด้วย เอาเป็นว่ามาที่เขื่อนกอมปิงปวยแล้ว จะได้เที่ยวแบบครบรสเลย ทริปนี้ยังไม่จนบครับ เพราะผมไปกอมปิงปวยฝนก็ตกรอให้ฝนตกก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกที่เขาสำเภา
ดาพาผมกลับมายังถนนเส้นหลัก จากนั้นก็วิ่งไปต่อทางที่จะกลับพระตะบอง เพื่อชมวิวสวย ๆ รวมถึงเรื่องราวของเขมรแดงที่นำคนกัมพูชามาสังหารที่เขาสำเภา จากที่ผมได้เห็นก็จะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเที่ยวเยอะพอสมควร แต่ทางขึ้นเป็นทางขึ้นเขารถมอเตอร์ไซค์สามารถขึ้นไปได้ แต่ต้องระวังหน่อยเพราะทางจะชัน ช่วงเย็น ๆ คนกัมพูชาจะขึ้นมาออกกำลังกาย ข้างบนมีวัดสำเภา มีเขาที่เคยเป็นที่เขมรแดงสังหารคนกัมพูชาโดยโยนมาจากป่องภูเขา ซึ่งปัจจุบันนี้ยังมีโครงกระดูกเก็บไว้อยู่มากมาย ด้านบนมีจุดชมวิวให้เห็นเมืองพระตะบอง มีเจดีย์ขนาดใหญ่ มีร้านค้า ห้องน้ำบริการนักท่องเที่ยว ที่นี่จึงมีคนขึ้นมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นคนกัมพูชา หรือว่าคนต่างประเทศ
ที่เขายังไม่ใช่ที่สุดท้ายที่ผมจะได้เที่ยว แต่ผมขอให้ดาพาไปถ่ายภาพที่สะพานรถไฟที่พระตะบองหน่อย เพราะผมคิดว่าตอนนี้ยังน่าสนใจเพราะทางรถไฟยังมีการปรับปรุงเลยเห็นทางรถไฟล้าง แต่อนาคตกัมพูชาคงพัฒนาเส้นทางรถไฟแน่นอน เพราะตอนนี้จากปอยเปตวิ่งมาถึงบันเตียนเมียนเจยแล้ว ทางรถไฟยังผ่านแม่น้ำพระตะบอง ซึ่งบริเวณที่ผมไปถ่ายมีคนมาตกปลา มีร้านอาหาร รวมถึงเห็นหนุ่มสาวมานั่งจีบกันบนทางรถไฟด้วย
ขากลับผ่านศาลากลางจังหวัดพระตะบองก็ถ่ายภาพก่อน เพราะตรงนี้จะเป็นสวนสาธารณะ ยังสามารถชมวิวสวย ๆ และชมวัดในเมืองพระตะบองที่มีคนมาท่องเที่ยวเยอะ ๆ แต่เสียดายผมไม่ได้เข้าเพราะเย็นมากแล้ว ถ้ามีโอกาสคราวหน้าไม่พลาดครับ
ดาบอกว่าอยากได้ภาพที่ผมไปถ่ายมาด้วยกันผมก็ยินดีไปนั่งรอภาพถ่ายกันที่ร้านถ่ายภาพในพระตะบอง เจ้าของร้านก็ใจดีให้ถ่ายโน่น นี่ นั่น ผมเลยได้ขาตั้งกล้องราคาไม่แพงมากมาอีกตัว
ระหว่างรอก็เหลือบไปเห็นร้านรถเข็นว่าเขาซื้ออะไรกินกันเห็นคนลุม เลยเข้าไปดูจึงรู้ว่าเป็นร้านขายเต้าส่วนสด ๆ คนขายพูดไทยได้ ก็เลยคุยถูกคออยากจะชวนผมมาอยู่พระตะบองอีก บอกว่าคนมาอยู่ที่นี่เยอะนะ ผมบอกมาเที่ยวอย่างเดียวก็พอ
สุดท้ายก่อนเดินทางกลับร่ำลาเพื่อนร่วมเดินทางไดรเวอร์ไกด์พระตะบองน้องดา ว่าเราไม่ลืมกันมาเขมรเมื่อไรจะโทรหาให้ไปด้วยกันแน่นอน สุดท้ายดาโบกแท็กซี่ให้ผมกลับเหมาคัน เพราะเดี๋ยวจะไปไม่ทันด่านปอยเปตปิด เพราะฝนก็ทำท่าจะตกแล้ว ในราคาคนละ 10 ดอลล่า 2 คนก็ 20 ดอลล่า รถวิ่งด่านปอยเปตประมาณ 1 ทุ่มนิด ๆ มีเวลามากพอที่ออกด่านเพราะด่านปิด 20.00 น. แล้วรอติดตามทริปการท่องเที่ยวเขมรในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปได้นะครับ
|