กำแพงเมืองแพร่ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นขอบเขตคูคันดิน โอบล้อมเมืองแพร่ ปัจจุบันมีให้เห็นตามเนินสูง ๆ รอบเมือง แต่ส่วนใหญ่ถูกทำเป็นถนน รวมถึงมีการขุดเพื่อปลูกสิ่งก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา ไม่ปรากฎแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่มีอายุมากกว่า 1,100 ปี คือมีหลักฐานจากประวัติวัดหลวง " พ.ศ. 1374 ท้าวพหุสิงห์ ราชโอรสของพ่อขุนหลวงพล ขึ้นครองเมืองพลทรงรับสั่งให้ขุนพระวิษณุวังไชย เป็นแม่งานทำการบูรณะอารามวัดหลวง มีการหุ้มทองพระเจ้าแสนหลวงทั้งองค์ ขยายกำแพงวัดออกไปถมกำแพงเมือง ก่ออิฐให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำขุนยมไหลเอ่อท่วมเวียง แล้วฉลองสมโภช 5 วัน 5 คืน..." แสดงว่ากำแพงเมืองมีการสร้างมาก่อนแล้ว ลักษณะทั่วไป กำแพงเมืองแพร่เป็นกำแพงชั้นเดียว ขนาดความสูงประมาณ 7 เมตร ความกว้างของฐานกำแพงประมาณ 15 เมตร ยาวรอบตัวเมือง ซึ่งมีรูปร่างรีคล้ายหอยสังข์ เป็นระยะทางประมาณ 4,000 เมตร ตัวกำแพง ภายในเป็นอิฐก้อนโบราณขนาดใหญ่และหินเรียงกันอยู่ แต่ดูจากภายนอกจะเป็นเนินดิน มีประตูเมือง 4 ประตู ได้แก่ ประตูใหม่อยู่ทางทิศเหนือ ประตูชัยอยู่ทางทิศตะวันออก ประตูมารอยู่ทางทิศใต้และประตูศรีชุม อยู่ทางทิศตะวันตก ระยะจากประตูศรีชุมก่อนถึงประตูใหม่ประมาณ 200 เมตร จะมีประตูเล็กๆ สำหรับนำสัตว์ออกไปเลี้ยงนอกเมือง เรียกว่า ประตูเลี้ยงม้า ทุกประตูจะมีป้อมปราการ ถัดจากกำแพงออกไปด้านนอกจะมีคูน้ำกว้างประมาณ 20 เมตร ส่วนด้านในกำแพงมีถนนสายรอบเวียง ซึ่งบางช่วงเป็นถนนอยู่ บนสันกำแพง ได้แก่ถนนทางด้านทิศตะวันตกตั้งแต่ถนนศรีชุมไปจนถึงประตูใหม่ หลักฐานที่พบ ในปัจจุบันยังมีแนวกำแพงเมืองปรากฎหลักฐานให้เห็นอย่างเด่นชัดและมีความสมบูรณ์อยู่มาก ช่วยป้องกันน้ำแม่ยมท่วมในเมืองไว้ได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าบางส่วนจะถูกบุกรุกตัดเป็นถนน และมีการสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่บ้าง ปัจจุบันชาวบ้านเรียกคูน้ำว่า "คือเมือง" หรือ "น้ำคือ" และเรียกกำแพงเมืองว่า"เมฆ" เส้นทางเข้าสู่กำแพงเมืองแพร่ เส้นทางที่ 1 ถนนสายเจริญเมือง เข้าทางประตูชัย เส้นทางที่ 2 ถนนบ้านใหม่ เข้าทางประตูใหม่ เส้นทางที่ 3 เข้าทางสามแยกบ้านในเวียงทางประตูมาน เส้นทางที่ 4 เข้าบ้านสุพรรณ และมหาโพธิ์ ข้ามสะพานน้ำยมเข้าประตูศรีชุม ลงวันที่ 24 มกราคม 2548 ช่วยกันหักล้างถางพงพบต้นไม้ใหญ่เป็นต้นมะม่วงขึ้นคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม ชาวบ้านเกิดศรัทธา จึงช่วยกันบูรณะ ซ่อมแซมให้สวยงามและแข็งแรง และได้ตั้งชื่อเสียใหม่ว่าวัดม่วงคำ ต่อมาพบแผ่นทองคำจารึกของพระนามพิมพาจึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำ แต่เดิมชื่อ วัดพระนอน และสันนิฐานว่าวัดพระนอนนี้ได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ทั้งนี้โดยถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลักและพระ ประธานในวิหารใหญ่นั้นชื่อหลวงพ่อ มงคลทิพณี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างแต่มีเพียงตัวหนังสือ เขียนไว้ว่าวัดพระนอนเป็นโบราณสถาน มีแต่นานเนื่องมาน่านับถือมีประวัติสืบเล่าเขาเลื่องลือ ว่าได้ชื่อพระนอนก่อนเก่ากาลอนุชนรุ่นหลังฟังไว้ ขอภูมิใจซึ่งคุณค่ามหาศาลมรดกตกทอดตลอดนาน อยู่คู่บ้านเมืองแพร่แต่นี้เทอญฯ
ข้อมูลจาก http://www.prapayneethai.com |