อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก น้ำพุร้อน ถ้ำ และเกาะแก่งต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ที่มีทิวทัศน์สวยงามมีอาณาเขตใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาตเอราวัณ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค มีเนื้อที่ประมาณ 1,532 ตารางกิโลเมตร หรือ 957,500ไร่ |
ภาพถ่าย |
ออกทริปหาปลาเขื่อนศรีสวัสดิ์วันแรกได้กินปลาสมใจอยาก Fishing Trip in Kanchanaburi Dam |
ออกทริปหาปลาเขื่อนศรีสวัสดิ์วันที่สองก็ได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้านเหมือนกัน Fishing in Kanchanaburi Dam |
|
|
|
พระอาทิตย์ลับขอบฟ้ากลางเขื่อนศรีนครินทร์ |
ภูเขาที่รายล้อมเขื่อนศรีนครินทร์ |
ยามเช้าบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ |
|
|
|
พระอาทิตย์ทอแสงกลางเขื่อนศรีนครินทร์ |
ป่าเขียวฟ้าใส ณ ริมเขื่อนศรีนครินทร์ |
เขื่อนศรีนครินทร์ |
|
|
|
ท้องฟ้าสีคราม ณ เขื่อนศรีนครินทร์ |
ธรรมชาติบนเขื่อนศรีนครินทร์ |
เขื่อนศรีนครินทร์ |
|
|
|
เขื่อนศรีนครินทร์ |
|
|
|
|
คลิปวีดีโออุทยานแห่งชาตเขื่อนศรีนครินทร์ น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น |
|
ข้อมูล |
เนื่องจากป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแควใหญ่เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ มีสภาพป่าสมบูรณ์เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น น้ำพุร้อน ถ้ำ และทะเลสาป ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ . ศ . 2522 ที่ให้เก็บรักษาไว้ โดยประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ . ศ . 2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 71/2523 ลงวันที่ 11 มกราคม พ . ศ . 2523 ให้นาย นิสัย ฟุ้งขจร นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเอราวัณทำการสำรวจ ประกอบกับในคราวประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3/2522 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ . ศ . 2522 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ( เดิม ) ( นาย ผ่อง เล่งอี้ ) ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กรมป่าไม้ มีโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อำเภอศรีสวัสดิ์ ดังนั้นจังหวัดกาญจนบุรีจึงได้แต่งตั้งคณะสำรวจของจังหวัด ทำการสำรวจด้วยเช่นกัน พบว่าพื้นที่ป่ามีสภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม มีลักษณะทางธรรมชาติที่เด่นหลายแห่งเหมาะสมจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ . ศ . 2523 เห็นสมควรดำเนินการกำหนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตำบลชะแล ตำบลท่าขนุน ตำบลหินดาด ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ ตำบลเขาโจด ตำบลนาสวน ตำบลด่านแม่แฉลบ ตำบลหนองเป็ด ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ และตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ในปี พ . ศ . 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ . ศ . 2524 เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 38 ของประเทศไทย
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้กระทำพิธีเปิดป้ายอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ . ศ . 2529 โดยมีปลัดกระทรวงเกษรตและสหกรณ์ ( ดร . เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ ) เป็นประธานในพิธีเปิด
สอบถามรายละเอียดอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ตู้ ป . ณ . 1 อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 71180 โทรศัพท์ 0-3451-6667
|
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจ
- ถ้ำพระ มีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่และในบริเวณนี้ สมัยก่อนเคยเป็นที่หลบซ่อนของทหารไทยที่หลบหนีกองทัพพม่า ซึ่งบุกรุกเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาในศตวรรษที่ 18
- ถ้ำเนรมิต เป็นถ้ำหินปูน มี หินงอกหินย้อย ที่สวยงาม ลักษณะคล้ายโดม
- น้ำโจน เป็นแหล่งน้ำที่สวยงาม อยู่เกือบติดเขตด้านทิศเหนือ ความหมายของน้ำโจนก็คือปลาที่กระโจนขึ้นสวนเหนือน้ำที่ไหลลงมาด้านล่าง การศึกษาในกรณีศึกษาต้องติดต่อทางกรมอุทยานแห่งชาติเสียก่อน อยู่ห่างจากสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร 9 กม.
- น้ำพุร้อนหินดาด ตั้งอยู่ที่ อ.ทองผาภูมิ บ้านหินดาด เป็นบ่อน้ำร้อนที่สะดวกสบายสำหรับผู้ที่ ผ่านไปมา กับน้ำตกผาตาด นักท่องเที่ยวส่วนมากนิยมมาอาบน้ำร้อนที่นี่ เพื่อผ่อนคลาย โดยน้ำพุร้อนที่นี่จะมีบ่ออาบน้ำที่สามารถอาบน้ำส่วนตัวได้
- น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น เป็นน้ำตกที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นลำน้ำที่ไหลลงมาจากเทือกเขาต่างๆ ทางด้านตะวันออกของสันเขา ส่วนลำน้ำที่ไหลลงมาทางฝั่งตะวันตกผาลาด ซึ่งเกิดลำห้วยแม่ขมิ้น ก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามถึง 7 แห่ง ได้แก่ น้ำตกม่านขมิ้น น้ำตกวังหน้าผา น้ำตกไหลจนหลง น้ำตกฉัตรแก้ว น้ำตกดงผีเสื้อ น้ำตกร่มเกล้า และชั้นที่น่าสนใจที่สุดคือ ชั้นที่ 4 และเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนที่ชั้นนี้เนื่องจากอยู่บนเทือกเขา ซึงสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเขื่อนศรีนครินทร์
- น้ำตกผาตาด เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งในเขตอำเภอทองผาภูมิ บริเวณภายในน้ำตกผาตาดเป็นสถานที่ร่มรื่น ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทั่วบริเวณ เหมาะแกการพักผ่อน ซึ่ง น้ำตกผาตาด มีทั้งหมด 3 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ จากที่จอดรถเดินเข้าไปเพียง 350 เมตร ก็จะได้พบความงามของน้ำตกทั้ง 3 ชั้น ชั้นแรกเดินเข้าไปประมาณ 50 เมตร |
การเดินทาง |
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาประมาณ 9 กม. จะพบสะพานลอยข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ขับมาประมาณ 7 กม. ท่านจะพบสี่แยก ให้ท่านเลี้ยวขวา ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปคือถ้ำค้างคาว) เพื่อไปยัง อ.เมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยกแก่งเสี้ยน ให้ขับไปทาง อ.ศรีสวัสดิ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 3199 เพื่อมุ่งไปยังอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทาง ก่อนจะเข้าถึงตัวอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ท่านจะผ่านเขื่อนท่าทุ่งนา (ไม่ต้องเข้าไปในเขื่อนท่าทุ่งนานะครับ)
จากนั้นจะมีทางให้ท่านเลือกเดินทาง 2 ทางได้แก่
1. ขับตรงไปโดยไม่ต้องขึ้นเนินทางชัน ที่เขียนว่าแพขนานยนต์ โดยจะเป็นทางแยกให้ขับตรงไปประมาณ 500 เมตร จะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการอยู่ที่ด่าน เส้นนี้เป็นเส้นทางเขื่อนศรีนครินทร์ได้นะครับ จากนั้นขับมาตามทางท่านจะพบทางชันให้ท่านขับขั้นมาประมาณ 800 เมตร ก่อนจะถึงที่ทำการเขื่อนศรีนครินทร์ จะมีป้ายบอกไปน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ท่านสามารถขับตามถนนได้เลย ประมาณ 40 กม. ทางจะเป็นลูกลัง (แนะนำให้ใช้ทางแพขนานยนต์ดีกว่า) ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
2. ทางแพขนานยนต์(รถเก๋งเดินทางสะดวก) โดยท่านจะต้องขึ้นทางชันที่เขียนว่าแพขนานยนต์ จากนั้นให้ท่านขับไปเส้นทางหลัก (ราดยางตลอด) สุดทางจะเป็นแพขนานยนต์ และท่านสามารถขับรถไปบนแพขนานยนต์เพื่อข้ามฝั่งได้นะครับ (ข้ามฝั่งตรงนี้ใช้เวลาประมาณ ไม่เกิน 10 นาที) หลังจากขึ้นจากแพแล้วให้ท่านขับตามทางลาดยางมาประมาณ 10 กม. ท่านจะพบกับป้ายบอกทางไปน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ทางจะเป็นลูกลังขับตามทางประมาณ 5 กม. ก็จะพบกับแพขนานยนต์อีกที่หนึ่งครับ ใช้เวลาข้ามประมาณ 1.30 ชม. ก็จะถึงฝั่ง หลังจากขึ้นจากฝั่งให้ท่านขับตามป้ายน้ำตกห้วยแม่ขมิ้นประมาณอีก 5 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ |
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ |
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น |